ทำไมถึงต้องว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างมืออาชีพ

Last updated: 30 ก.ค. 2564  |  2022 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมถึงต้องว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างมืออาชีพ

     ในโครงการก่อสร้างนั้นมักจะมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย เช่น สถาปนิก มัณฑนากร วิศวกร ผู้รับเหมา ที่ปรึกษา ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ที่ปรึกษาการใช้ที่ดิน ที่ปรึกษาการขออนุญาต ผู้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักจะทำงานโดย “โฟกัส” ไปที่การทำงานของตนเองให้แล้วเสร็จ ไม่ได้คำนึงถึงภาพรวมของโครงการ ถ้าปล่อยให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองปราศจากการประสานงานที่ดี หรือ ต่างคนต่างทำ ทำงานไปคนละทิศละทาง สามารถคาดเดาได้เลยว่า โครงการนี้จะล้มเหลวอย่างแน่นอน

ที่ปรึกษาโครงการคือ “กาว”
การทำตัวเป็นกาวของที่ปรึกษาโครงการนั้น ทำเพื่อประสานกระบวนการทุกส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ที่ปรึกษาโครงการที่ดีจะใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ เติมเต็มช่องโหว่ หรือจุดอ่อนของทีมงานที่ทำงานอยู่ภายในโครงการ ทำให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้และสำเร็จตามเป้าหมายของเจ้าของโครงการ

ที่ปรึกษาโครงการทำอะไรบ้าง
การจัดการโครงการนั้นรวมถึง การจัดการกระบวนการวางแผน ประสานงาน ควบคุมโครงการตั้งแต่เริ่มจนจบ งานที่พูดเหมือนทำง่ายแต่จริงๆ แล้วทำยากคือการทำให้ งบประมาณการก่อสร้าง เวลาการก่อสร้าง และคุณภาพของการก่อสร้างนั้นมีความสมดุลกัน ที่ปรึกษาโครงการที่ดีนั้น จะสามารถให้คำแนะนำเจ้าของโครงการว่า ควรจะลดหรือเพิ่มอะไร ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์หลักของโครงการ และเป็นไปตามเป้าหมายของเจ้าของโครงการ



เจ้าของโครงการส่วนมากจะยุ่งวุ่นวายอยู่กับธุรกิจหลักของตนเอง มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีประสบการณ์ ความรู้ทางเทคนิค ที่จะสามารถบริหารโครงการด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามเจ้าของโครงการส่วนมากมักจะไม่มีเวลาหรือมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถแบ่งเวลามาให้กับกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปีดังเช่นโครงการก่อสร้างได้ ดังนั้นที่ปรึกษาโครงการจะทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนเจ้าของโครงการและสนับสนุนเจ้าของโครงการโดยให้ความรู้และนำพาเจ้าของโครงการให้บรรลุความท้าทายในการออกแบบและการก่อสร้าง ดังนั้น การจ้างตัวแทนหรือมืออาชีพในการบริหารโครงการมีประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการก่อสร้าง

ผู้จัดการโครงการจะทำหน้าที่
1. ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนเจ้าของโครงการเพื่อที่จะปกป้องผลประโยชน์สูงสุดให้กับโครงการ และลูกค้า
2. ลดค่าใช้จ่ายของโครงการ ซึ่งโดยปกติจะต้องลดมากกว่าค่าธรรมเนียมของการบริการ โดยการลดนี้รวมถึง การประกวดราคา การเจราจากับผู้รับเหมา การจัดทำสัญญา วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) ลดการเปลี่ยนแปลงงาน (Change Order) ลดเวลาการก่อสร้าง และ กำจัดงานส่วนเกินที่ไม่จำเป็น เช่น ขอบเขตงานและค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน
3. ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางการสื่อสารและข้อมูล โดยเป็นผู้ประสานงานโครงการเพื่อประสานงานกับผู้มีส่วนได้เสียของโครงการ
4. ให้คำแนะนำลูกค้าในการสรรหาทีมงานของโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และบริหารจัดการทีมงานดครงการด้วยเพื่อให้ทีมงานสามารถทำผลงานได้ดีที่สุด
5. จัดทำแผนงานควบคุมคุณภาพเพื่อลดข้อบกพร่องและงานด้อยคุณภาพ
6. จัดทำงบประมาณที่สมจริงและเชื่อถือได้
7. จัดทำและปรับแต่งแผนงานการออกแบบและก่อสร้างให้เหมาะสมและสมจริง
8. จัดการควบคุมเอกสารต่างๆ เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ตกหล่น
9. ให้คำแนะนำข้อดีข้อเสียของสัญญาแก่ลูกค้า รวมถึงการเจรจา ตรวจสอบข้อสัญญาต่างๆ ตรวจสอบการรับประกัน ยืนยันการชำระเงินแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อความถูกต้องของงานแต่ละงาน
10. ปกป้องลูกค้าจากความรับผิดชอบที่ไม่จำเป็น
11. บริหารจัดการโครงการโดยการให้ความคิดเห็นด้านเทคนิคจากประสบการณ์ และความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม
 
ยิ่งเร็วยิ่งดี
ทุกการตัดสินใจของเจ้าของโครงการนั้นมีราคาที่ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไป ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของโครงการ การว่าจ้างผู้บริหารโครงการนั้นควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดซึ่งที่ปรึกษาโครงการจะช่วยเหลือเจ้าของโครงการในการลดต้นทุนในช่วงการวางแผนโครงการและช่วงเวลาก่อนการก่อสร้างโครงการ และเพื่อป้องกันความล่าช้าและงบประมาณบานปลาย ซึ่งเป้นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้โครงการก่อสร้างนั้นเกิดล้มเหลว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้