Last updated: 23 มี.ค. 2565 | 1097 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องการจัดเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซีนั้นเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาพอสมควร โดย วีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า และ K WEALTH GURU ธนาคารกสิกรไทย อธิบายว่า ภาษีคริปโตฯ ยังคงเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เพราะมีจำนวนนักลงทุนในตลาดคริปโตฯ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
จากข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในเดือน พ.ย. 64 ที่ผ่านมามีจำนวนบัญชีผู้ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสูงถึง 1,979,847 บัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่มีจำนวนบัญชีเพียงหลักหมื่น
ล่าสุด กรมสรรพากรได้ประกาศแนวปฏิบัติการจัดเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซีที่ชัดเจนมากขึ้นในหลายประเด็น สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายคริปโตฯ ผ่าน Exchange Platform ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบความถูกต้อง และหักภาษีได้ถูกฝาถูกตัว ทำให้ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
2. สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ เพื่อใช้คิดเงินได้ในการคำนวณภาษี จากแต่เดิมที่ให้คิดเฉพาะรายการที่ได้กำไร ซึ่งได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากถึงความไม่เป็นธรรมสำหรับนักลงทุน
3. วิธีการคิดต้นทุน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- คิดด้วยวิธี เข้าก่อน-ออกก่อน First in, First out หรือที่เรียกว่า FIFO
- วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือ Moving Average Cost ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 1 ก.พ. ซื้อคริปโตฯ A จำนวน 1 เหรียญในราคา 10,000 บาทต่อเหรียญคริปโตฯ ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. ซื้อเพิ่มอีก 1 เหรียญในราคา 12,000 บาท
ถ้าใช้วิธี FIFO ในการคิดต้นทุนเมื่อจะขายออก 1 เหรียญ จะใช้ราคาของเหรียญที่ซื้อเข้ามาก่อน นั่นคือ 10,000 บาท
แต่ถ้าใช้วิธี Moving Average Cost ทั้งสองเหรียญจะมีต้นทุนเฉลี่ย 11,000 บาท คือนำราคาซื้อทั้งหมดมารวมกันหารด้วยจำนวนเหรียญ
4. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ให้วัด ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ย
นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้พูดถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในอนาคต เช่น การให้เจ้าของ Exchange Platform เป็นผู้ดูแลในการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับสรรพากร เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดได้ในกรณีที่นักลงทุนมีปริมาณการซื้อขายหลายรายการในหนึ่งปี
รวมถึงการเปลี่ยนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ ปกติจะใช้กับสินค้าหรือบริการที่หามูลค่าเพิ่มได้ยาก ซึ่งเหมาะกับการคำนวณรายได้และการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ มากกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ขณะเดียวกัน แนวปฏิบัติเรื่องการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายและการนำผลกำไรและขาดทุนรวมกันเพื่อคำนวณภาษี จะมีผลเฉพาะการซื้อขายผ่าน Exchange Platform ที่อยู่ภายใต้การดูแลของก.ล.ต. เท่านั้น และนักลงทุนยังคงต้องนำเงินได้จากคริปโตฯ มารวมกับเงินได้อื่นๆ เช่น เงินเดือน เงินจากธุรกิจ นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ เพื่อยื่นภาษีประจำปี และจ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้า 5-35%
"เราอยากแนะนำให้นักลงทุนเตรียมยื่นภาษีด้วยการสรุปทำบัญชีกำไร ขาดทุนในการซื้อขาย หรือเทรด การ Stake เหรียญ และทำบัญชีต้นทุนในการขุดเหรียญให้ละเอียดชัดเจน"
ทั้งนี้ หากดูแนวทางการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ ในต่างประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์และโปรตุเกส ยกเว้นภาษีคริปโตฯ ส่วนฮ่องกงและสิงคโปร์ ยกเว้นให้ในกรณีที่ลงทุนระยะยาว
ในขณะที่สหรัฐอเมริกาจัดเก็บภาษีอัตราเดียวกับหลักทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ อย่างหุ้น และสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับรายได้ที่ใช้คำนวณภาษี ในกรณีที่ไม่มีเงินได้จากการขายหลักทรัพย์
ขอบคุณที่มา ไทยรัฐออนไลน์
และในเร็วๆ นี้ TIPS Training จะจัดคอร์สพิเศษ "Investment Strategy for Second Half of 2022"
โดย "คุณวรุตม์ พรหมบุญ"
ผู้นำการวิจัยสินเชื่อและการให้คำปรึกษาของ Bondcritic กับกองทุนเพื่อการพัฒนาทุนแห่งสหประชาชาติ โครงการ Climate Bonds Initiatives และ Asian Development Bank ก่อนที่จะมาร่วมงานกับ Bondcritic ท่านเป็นผู้นำทีมจัดอันดับความน่าเชื่อถือของเอเชียของ Dagong Hong Kong ซึ่งจัดทำรายงานการวิจัยและการจัดอันดับเครดิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ก่อนหน้าร่วมงานกับ Dagong Hong Kong โดยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสินเชื่อแห่งเอเชียที่ Societe Generale และ ING รวมถึงหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ ALM ที่ Standard Chartered Bank อาชีพการวิจัยสินเชื่อของเขาครอบคลุมกว่า 27 ปีในสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ และไทย และนำความสามารถที่หลากหลาย เช่น การเงินที่มีโครงสร้าง การเงินสำหรับโครงการ การเงินเลเวอเรจ การจัดการความเสี่ยงด้านเครดิต การวิจัยด้านเครดิตด้านการขาย การบริหารการเงิน และการให้คำปรึกษาด้านการจัดอันดับ ประสบการณ์ของเขายังครอบคลุมความเชี่ยวชาญทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน (อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย) และอุตสาหกรรมต่างๆ ของทั้งสถาบันการเงินและองค์กร
คุณวรุตม์เป็นวิทยากรในกิจกรรมการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในฐานะผู้ดำเนินรายการและเป็นผู้อภิปราย เขายังเคยเป็นวิทยากรรับเชิญในหัวข้อการวิจัยเครดิตในเอเชียที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2008 เขาได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักวิเคราะห์ตราสารหนี้ที่ดีที่สุดในเอเชียอันดับที่ 4 จากผลสำรวจของนักลงทุนของ FinanceAsia
ติดตามข้อมูลได้ผ่าน Facebook page : TIPS Training หรือทาง Line ID : @tipstraining
10 ม.ค. 2566
17 พ.ย. 2565
9 พ.ย. 2565